สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เกี่ยวกับ อบจ.ระยอง
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
อํานาจหน้าที่/บทบาท
นโยบายนายกอบจ.
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
โครงสร้าง อบจ.ระยอง
บุคลากร
ทำเนียบผู้บริหาร
ทำเนียบสภา อบจ.ระยอง
อำเภอเมือง
อำเภอแกลง
อำเภอบ้านค่าย
อำเภอบ้านฉาง
อำเภอปลวกแดง
อำเภอวังจันทร์
อำเภอเขาชะเมา
อำเภอนิคมพัฒนา
ทำเนียบส่วนราชการ
เบอร์โทรศัพท์ภายใน
หน่วยงานภายใน
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สำนักงานเลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุข
สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กองพัสดุและทรัพย์สิน
กองการเจ้าหน้าที่
หน่วยตรวจสอบภายใน
ศูนย์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
รพ.สต.คลองน้ำแดง
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ขั้นตอนการให้บริการ
ข้อมูลข่าวสารฯ มาตรา 7
ม. 7(1) โครงสร้างและการจัดการองค์กร
ม. 7(2) สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญ
ม. 7(3) สถานที่ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
รายการไฟล์ ม. 7(4) กฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องฯ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ มาตรา 9
ม. 9(1) ผลการวินิจฉัย/พิจารณาฯ
ม. 9(2) แผนยุทธศาสตร์
ม. 9(3) แผนพัฒนา 3 ปี
ม. 9(3) แผนดำเนินงาน
ม. 9(4) คู่มือสำหรับประชาชน
ม. 9(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิง
ม. 9(6) สัมปทาน/สัญญาร่วมทุนกับเอกชนฯ
ม. 9(7) มติคณะรัฐมนตรี
มาตรา 9(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อบัญญัติงบประมาณ
สถานะการคลัง
จัดซื้อจัดจ้างจากระบบ E-GP
จัดซื้อจัดจ้าง
วิธีพิเศษ
ประกวดราคาจัดซื้อ-จัดจ้าง
ประมูลจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
สอบราคา
วิธีตกลงราคา
วิธีกรณีพิเศษ
ผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ละเดือน
รายงานแผนปฎิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
รายงานผลการปฎิบัติงานตามแผนปฎิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
แผนจัดหาพัสดุประจำปี
1.แผนจัดซื้อจัดจ้าง
2.วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
3.วิธีคัดเลือก
4.วิธีเฉพาะเจาะจง
ผู้ชนะการเสนอราคา
รายงานการประชุมสภา
รายงานผลการปฎิบัติงานของอบจ.
รายงานผลการติดตามและประเมินผล
รายงานผลการดำเนินงาน
กฎหมายและระเบียบ
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
ITA ประจำปีงบประมาณ 2566
ITA ประจำปีงบประมาณ 2567
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริการประชาชน
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ร้องเรียนร้องทุกข์
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
E-Service
ติดต่ออบจ.
ติดต่อเรา
เว็บบอร์ด
Sitemap
ข่าวประชาสัมพันธ์
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
>
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะบุคลากร
เมนูหน่วยงานภายใน
หน้าแรก
โครงสร้างหน่วยงาน
หน่วยงานภายใน
ฝ่ายบริหารการศึกษา
ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สนามกีฬากลาง)
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา1
หน้าที่รับผิดชอบ
งานควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ผลงานและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
ภาษาระยอง
10 พฤษภาคม 2562
20958 ครั้ง
Posted by: Webmaster Rayong pao หมวดหมู่:
ข่าวประชาสัมพันธ์
Share
ภาษาระยอง
ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่มีใช้พูดในท้องถิ่นใด ท้องถิ่นหนึ่ง รวมหมายถึงภาษาที่อยู่ในตระกูลไทยด้วยกันและภาษาอื่น และเรียกชื่อไปตามที่ชาวบ้านเรียก เช่น ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาจีน เป็นต้นภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ ในภาคตะวันออก มีหลายภาษาตามแต่ชุมชนที่เข้ามาอาศัยอยู่ดังกล่าวแล้วข้างต้นว่า วัฒนธรรมภาคตะวันออกมีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ภาษาก็มีการผสมผสานกันไปด้วย เช่นเดียวกัน เช่น ภาษาไทยกลาง ภาษาจีน ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาชอง ภาษาลาว และจากการสำรวจของคณะสำรวจจาก Southeast Asia Studies ของมหาวิทยาลัย Yale พบว่าในภาคตะวันออกของไทย ภาษาที่ใช้พูดกันนั้นมีรากฐานสืบเนื่องมาจากเชื้อสายดั้งเดิม ของประชากรจากภาษาพูดดั้งเดิมที่แตกต่างกันอาจแบ่งภาคตะวันออกเป็น 2 ส่วน คือ บริเวณซีกตะวันออก และบริเวณซีกตะวันตก บริเวณพื้นที่ซีกตะวันออกนั้น คลุมพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และตราด ทั้งหมดรวมไปถึงพื้นที่อำเภอตาพระยา อรัญประเทศ วัตนานคร และพื้นที่ด้านตะวันออกของอำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ด้านตะวันออกของกิ่งอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ชายเขตอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ต่อเนื่องเข้าไปยังพื้นที่ตอนปลายสุดของอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นบริเวณที่ประชากรดั้งเดิม มีเชื้อชายและภาษาพูดเดิมอยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร หรือกลุ่มที่เรียกว่า Khmer – Cambodian ภายในพื้นที่ซีกตะวันออกนี้เองมีพื้นที่บริเวณหนึ่งอยู่ในเขตกิ่งอำเภอบ่อไร่ ต่อเนื่องกับพื้นที่ตอนเหนือของอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีลักษณะแตกต่างออกไป คือประชากรมีเชื้อสายและภาษาพูดเดิมเป็นพวก มอญ – เขมรภูเขา (Muntain Mon-Khmer) ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา ที่อยู่ทางซีกด้านตะวันตกทั้งหมดนั้น เป็นเขตพื้นที่ที่ประชากรมีเชื้อสายและภาษาพูดเดิมอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทยในอดีต ดินแดนในภาคตะวันออกเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของชนชาติเขมรมาก่อน ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีภาษาเขมร นอกจากจะเป็นภาษาพูดของชาติไทยเชื้อสายเขมรแล้ว ชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ส่วนมากยังเป็นภาษาเขมรด้วย เช่น บางปะกง ฉะเชิงเทรา พนม ตราด เสม็ด แสม สำโรง สัตหีบ แหลมฉบับ สัตหีบ ระยอง และในจังหวัดระยองเอง เป็นที่น่ายินดีว่าได้มีผู้ที่สนใจเกี่ยวกับภาษาระยองในอดีต หลายท่าน ท่านแรกน่าจะเป็น ท่านนพกาญจน์ สนั่นไหว ท่านต่อมาก็คือ พระครูพิพัฒน์ ปริยัดยานุกูล พระครูประภัทรวิริยคุณ และระวี ปัญญายิ่ง ทุกท่านที่กล่าวมานี้ ได้พยายามที่จะศึกษา หาคำแปลของคำบางคำที่ไม่มีในพจนานุกรม และคำเหล่านี้เป็นคำที่ใช้เรียนสถานที่ในจังหวัดระยอง อาทิเช่น คำว่า ระยอง เพ แกลง ประแส ว่าคำต่าง ๆ เหล่านี้เป็นภาษาอะไรและมีความหมายว่าอย่างไร ในที่สุดทุกท่านที่เอ่ยนามถึง ได้สรุปตรงกันว่า ทุกคำที่กล่าวมานั้นทั้งหมดเป็นภาษาชอง ในตอนแรกเมื่อผู้เขียนได้อ่านบทความของทุกท่านแล้ว ก็เชื่อว่าเป็นภาษาชองเหมือนกัน แต่พอมาภายหลังผู้เขียนได้ศึกษา เรื่องนี้จากพจนานุกรมภาษาไทย – เขมร แล้วปรากฎว่าทุกคำที่กล่าวมานั้น เป็นภาษาเขมร ทั้งสิ้นภาษาระยองนั้นถือได้ว่าเป็นภาษาไทยกลาง เช่นเดียวกับภาษากรุงเทพฯ แต่สำเนียงพูดจะเพี้ยนไปจากภาษากรุงเทพฯ มาก มีลักษณะคล้าย ๆ กับภาษาพูดของชาวจันทบุรี และตราด ภาษาระยองเป็นภาษาถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวระยองภาคภูมิใจ แต่ในปัจจุบันปรากฎว่าภาษาระยองดั้งเดิมนั้น เยาวชนรุ่นหลัง ๆ ไม่สามารถพูดได้เสียแล้ว ที่พูดได้อยู่ก็จะเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามชนบท เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่า ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่อย่างนี้ อีกไม่นานภาษาถิ่นของระยอง ก็คงจะเกือบหายไป เหลือเพียงแค่ภาษากรุงเทพฯ เท่านั้น แต่เป็นที่น่ายินดีว่า ในขณะนี้มีผู้ที่สนใจภาษาระยองสองท่านด้วยกัน คือ ท่านอาจารย์อำนาจ มณีแสง กวีจังหวัดระยอง และท่านอาจารย์นุลักษณ์ เพ็งสุภาพ ทั้งสองท่านได้พยายามรวบรวมภาษาระยองเป็นเอกสารแล้วขณะนี้ปรากฎว่าได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ที่สนใจได้รับทราบไปบ้างแล้ว เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบว่า ภาษาระยองนั้นมีลักษณะอย่างไรบ้าง ผู้เขียนขออนุญาต ท่านอาจารย์อำนาจและอาจารย์นุลักษณ์ ยกผลงานของท่านมานำเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ ภาษาถิ่นระยอง เรื่องที่ 1 หญิงวัยรุ่นชื่อ อำไพ เวิกผ้าถุงเดินฝ่าลูกหญ้ามาทางหลังบ้านยายแจ่มและมองหาเพื่อนที่ชื่อราตรี เพราะในเวลานั้น ราตรีเคยมาซ้อมข้าวเหยียบกระเดื่อง กระดก แต่วันนี้ราตรีเพื่อนรักไม่ได้ลงมาทำงานหน้าบ้าน อำไพจึงเอามือป้องปากร้องเรียก
“ราตรี ราตรีจ๋า” “จ้า…อำไพ ขึ้นมาบนบ้าน เร็ว” อำไพล้างเท้าวิ่งขึ้น กะได ไปหาราตรีและเชิญชวนว่า “บ่ายวันนี้พ่อกับแม่เขาจะเอาเกียน ออกไปเที่ยวงานวัดบ้านเก่าราตรีไปเที่ยวด้วยกันมะ””ก็ดีซิ เกียนที่บ้านกะทุกฟืนหนักแอ้ กะหลุงคายเมื่อวานพ่อยังไม่ได้แต่ง””ยังงั้น ตอนบ่ายสามโมงไปที่บ้านเรานะ” อำไพชักชวนการไปเที่ยวงานวัดบ้านเก่า จะมีงานปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลอง คนต่างบ้านจะขี่เกียนมาเที่ยว และหาที่จอดพักค้าง บ้านเราอยู่ใกล้ ๆ ก็ไปกลับ ทางก็สบาย เข็นฟ่อนเสียน่อมไม่มี กะหลุก ในงานมี กุ๋ยเตี๋ยว ข้าวหลาม ข้าวเกรียบว่าว คนย่างขายส่วนมาเป็นคนแก่ติด กระนั่กหมาก มี กะหมุก ใส่ยาเส้นสำหรับสีฟัน วันตัดลูกนิมิตลงหลุมคนมา บานเต มี ยี่เก เล่น ปี่พาทย์ มีสาว ๆ ตามพระเอกยี่เก กันบ่อย บางคนก็ไปนั่งดูอ้าปาก กะจ๋อหวอ บางคนก็กระเถิบเข้าไปอย่างใกล้ เด็กเล็กส่วนมาก็ กะเหลาะ แม่ขอ กะตางค์ กิน หนม บางคนชอบมวยขึ้นต้นไม้ดู ดูยังไม่สนุกพอ กระเหิ่ม ต้นไม้อีกด้วยติดนิสัยเป็นเด็ก ตะพึดตะพือ ร้านค้าขายของดี บางร้าน กะโหร่งกะเหร่ง แต่ของขายดี มีคนซื้อไม่ขาด พวกกระนั่ก จักสานของเล่นเด็กชอบซื้อ เด็ก ๆ ไม่ว่าคนไหนคนนั้น ขอ กะตางค์ แม่ วิ่งงั่ก ไปซื้อลูกโป่ง เจ้าติ๊ดชักว่าววิ่งถอยหลัง ตกกะหลุก หงายจังครางเลยแหละ แถมถูกแตนจ่อซ้ำ มือปัดก้นวิ่ง น้ำตาเล่ด ไปหาแม่ทายาหม่อง ดึกแล้วยังเที่ยวสนุก ไม่จักบอก เด็กบางคนแม่จูงเดิน กะง่อกกะแง่ก เพราะง่วง ก็จำทึงให้แม่อุ้ม ดูท่าทีชักจะเมื่อยกันแล้ว กลับบ้านซื้อข้าวหลามไปฝากยายสักสองกระบอก ภาษาถิ่นระยอง เรื่องที่ 2 กะดูว่าประมาณบ่าย 5 โมงเศษ สมศักดิ์อาบน้ำเสร็จ นุ่งกางเกงจีนขายาวสวมเสื้อแขนยาวสีกรมท่าทั้งชุด เอาผ้าอีโป้ คาดพุง ถือกระดองไห เนาะ ควายตัวผู้ชื่อไอ้ทองมาข้างทางเกียน แล้วกระโดดขึ้นขี่หลังเจ้าทองเดินไปตามทาง มันตกใจอังงะอังกะเมื่อเห็นงูเห่าตาลานตัวใหญ่เค เลื้อยผ่านหน้าไปอย่างรีบเร่ง มันเหวี่ยงหัว และโขกเขาไปโดนเข่าสมศักดิ์และวิ่งต่อไปโดยเร็ว สมศักดิ์ตกหลังควาย เจ้าทองหนีไปยืน เบิ่งอยู่ข้างหน้า สมศักดิ์ลุกขึ้นเดิน กะง่องกะแง่ง ไปจับหากเชือกที่ผูกกับสะพายร้อยจมูกเจ้าทองทำท่าจะขึ้นขี่หลัง แต่ดูเหมือนจะยกขาขึ้นนั่งหลังควายไม่ไหว จึงต้องจูงเจ้าทองแบก กระดองไห ไปเอาแรงเขานวดข้าว ปากก็บ่นว่า “ไอ้ทองเอ๊ย กู จำทึง ว่ามึงจะพากูไปลานเขาได้ มึงมาทำให้กูต้องเดิน จะเอากระดองไห ล่อหัว ก็ดูว่ามึงไม่ตั้งใจเพราะตกใจ กูก็ต้องจูงมึง กะหงึกกะหงัก ต่อไปอีก” กูก็เหนื่อยไม่จักบอก ไปลานเขาทุกคืน ๆ ลานลุงเหลี่ยงก็ได้ฟ่อนตั้ง พอแรงนวดกว่าจะเสร็จก็กะบักกะบอม น่าดู นี่ก็ชะมัว ๆ แล้วอย่าทำเดินช้าเดี๋ยวกู กะทกจมูกแสบ ไปให้ทันล่อข้าวเย็นกะเขาสักมื้อไปช้าประเดี๋ยวเขา ซัดกันเช่ด กูท้องแห้งแหงแก๋ ไม่ยังงั้นกูต้องดอดไปทางโรงครัวแลน่าเกลียด ซักไซร้ไล่เลียง คำสำเนียงระยอง
แม่ถามน้องตุ่ม….พี่ใบตองไปหนา…ถามว่า “พี่ใบตองไปไหน”
ตุ่ม…ใบตองบอกว่าจะไปทุ่งนา
แม่….จะไปทำไอ้รา ถามว่า “จะไปทำอะไร”
ตุ่ม….เห็นบอกว่าจะไปเกียดกุ้ง
แม่….แล้วมันไปกะคา ถามว่า “แล้วมันไปกับใคร”
ตุ่ม…ไปกับป้าเสี่ยน
ตุ่มถาม….เกียดกุ้งเขาทำยังงา แม่ตอบ “สองมือจับขอบปากกระนางลากในแอ่งน้ำ เมื่อยกขึ้นมามีกุ้งปลา ก็จับเอามาทำอาหารกิน” กะง็อกกะแง็ก ว. แข็งแรง , ไม่คล่องแคล่ว , อ่อนเพลียเดินไม่ปกติ
กะเตอะ ว. ไม่สวย , เคอะเขิน ,ปล่อยตัว
กะเพิ่น ก. กระจุยกระจาย แตกแยกออกจากกันอย่างไม่มีระเบียบ
กะหลุก น. หลุมเล็ก ๆ บนพื้นดิน ,ท้องถนน ,ท้องนา
กระนั่ก น. ภาชนะใส่ของสานด้วยไม้ไผ่รูปร่างคล้ายกระบุง แต่มีตามโปร่ง มีหูหิ้ว ทำด้วยหวาย ชาวชนบทมักจะทำไว้ใสหมากพลู ซึ่งเรียกกันว่า “กระหนั่กหมาก”
กระบอกอีโพละ น. เป็นของเล่นของเด็ก ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เล็ก ๆ มีรูขนาดหลอดกาแฟ มีแกนคล้ายลูกสูบ สำหรับกระทุ้งหรือยิง โดยเอาเมล็ดสามง่าม เมล็ดมลายหรือกระดาษเหนียวแช่น้ำ ทำเป็นเม็ดใส่ในกระบอก ใช้ไม้กระทุ้งด้วยเม็ดที่สองก็จะทำให้อัดลม เมล็ดที่หนึ่งก็จะออกไป เช่น ลูกปืนมีเสียงดังโพละชาก น. ป่าละเมาะ อาจจะเป็นป่าที่ถูกแผ้วถางแล้ว แตกต้นขึ้นมาใหม่ ไม่เป็นไม้ป่าใหญ่ชะมัว ว. เวลาโพล้เพล้ ใกล้พลบค่ำ สว่างน้อย มองไม่ชัดตะกรก ก. ยกของใส่กระโล่ ตะแกรง ขยับขึ้นลงเร็ว ๆ นักนั่ก ว. มากมาย ,เยอะแยะ บ้านบน ก. บ้านนอก ,ชนบทเบอะบะ ว. ไม่สวย ไม่เรียบร้อย ผิดปกติ ขอแรง มาก ไม้จักกะ มีความหมายว่า “ไม่รู้ว่า…” เช่น ไม่จักกะบอก…..ไม่รู้จะบอกอย่างไรดี ไม่จักกะเอา…….ไม่รู้จะเอาอย่างไรดี ลักกะตา น. สัปปะรด บรรณานุกรม ภาษาถิ่น
อำนาจ มณีแสง ภาษาถิ่นจังหวัดระยอง โรงพิมพ์บ้านดอนปริ๊นทรี จังหวัดระยอง 2546
2. เฉลียว ราชบุรี เมืองแกลงของเรา เมืองเก่าบรรพชน เทศบาลตำบลเมืองแกลง จัดพิมพ์ พ.ศ. 2546
3. ตะเคียน 24 พระครูประภัทรวิรยคุณ เจ้าคณะอำเภอแกลงพิมพ์ พ.ศ.2544
4. กวี รังสิวรักษ์ สมุยที่รัก สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว กทม.2546
5. 100 ปี บุญศิริ ระยองมิตร ระยองวิทยาคม โรงเรียนระยองวิทยาคมพิมพ์ พ.ศ.2542
6. แบบเรียนวิชาส่งเสริมคุณภาพชีวิต ภาคตะวันออก กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2537
7. ภาษาเขมรในภาษาไทยและภาษาไทย – บาลี สันสกฤตในภาษาเขมร พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระราชวุฒฒาจารย์ 20 พ.ค.2522
8. รายงานการศึกษาสภาสิ่งแวดล้อม – วัฒนธรรม ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก สำนักนายกรัฐมนตรี สิงหาคม พ.ศ.2529
ภาษาถิ่นของชาวจังหวัดระยอง
ภาษาถิ่นของชาวจังหวัดระยองมีเสียงพูดและความหมายของคำพูดที่ผิดแปลกไปจากจังหวัดอื่นอยู่มาก ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดระยอง ยากที่จะศึกษาอยู่พอสมควร และเป็นที่น่าสนใจของชาวต่างถิ่น แม้แต่นักแสดงหรือดาวตลกพยายามจะนำไปเผยแพร่เลียนแบบสำเนียงเสียง และคำที่ใช้ในชนบทของจังหวัดระยอง ก็ยากที่จะเหมือนสำเนียงพูดของชาวจังหวัดระยองได้ โดยทั่วไปแล้วสำเนียงเสียงแต่ละท้องถิ่นในจังหวัดระยองยังแตกต่างกันออกไป เช่น หมู่บ้านชากก่อไผ่ ห้วงหิน ชากทองหลาง บางบุตร อำเภอบ้านค่าย ก็แตกต่างกันกับหมู่บ้านคลองปูนปากน้ำประแสร์ บ้านไร่ บ้านกร่ำ อำเภอแกลง แต่คำพูดที่เป็นของชาวจังหวัดระยองนั้นยังเข้าใจกันได้ทั้งจังหวัด ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจยากของคนท้องถิ่นอื่นหรือจังหวัดอื่น
รูปภาพประกอบเนื้อหา
ข่าวประชาสัมพันธ์ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น พ.ศ.2567
8 กรกฏาคม 2567
1
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น พ.ศ.2566
10 สิงหาคม 2566
1
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ภาพกิจกรรมโครงการจตุรมิตรสามัคคี
8 กันยายน 2565
1
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
23 สิงหาคม 2565
1
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10 สิงหาคม 2565
1
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
9 สิงหาคม 2565
1
ข่าวประชาสัมพันธ์
Views
ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
8 สิงหาคม 2565
1